Marketing Automation คืออะไร ต่างจาก Digital Marketing อย่างไร

Marketing Automation คืออะไร ต่างจาก Digital Marketing อย่างไร

การแข่งขันทางธุรกิจที่สูงขึ้นทำให้ Marketing Automation กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หลายธุรกิจเลือกใช้ เทคโนโลยีนี้ช่วยให้ธุรกิจสามารถส่งข้อความที่เหมาะสมไปยังลูกค้าแต่ละคน ลดงานที่ต้องทำซ้ำๆ และเพิ่มโอกาสในการขาย วันนี้ deeSMSX จะพาคุณทำความเข้าใจว่า Marketing Automation คืออะไร มีข้อดีอย่างไร แตกต่างจาก Digital Marketing อย่างไร และทำไมจึงเป็นเทรนด์ที่ธุรกิจทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ

Marketing Automation คืออะไร

Marketing Automation คือ การใช้ซอฟต์แวร์หรือเทคโนโลยีเพื่อทำงานการตลาดแบบอัตโนมัติ ช่วยจัดการกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า และตั้งค่าการทำงานตามเงื่อนไขที่กำหนดล่วงหน้า เช่น ส่งอีเมลต้อนรับลูกค้าใหม่ หรือข้อความแจ้งเตือนลูกค้าที่ทิ้งสินค้าในตะกร้า ช่วยลดงานซ้ำซากและเพิ่มประสิทธิภาพการทำการตลาด

ทำความเข้าใจข้อดีของ Marketing Automation

ทำความเข้าใจข้อดีของ Marketing Automation

การใช้ Marketing Automation มีข้อดีมากมายที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถทำการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป รูปแบบการใช้ชีวิตที่พึ่งพาดิจิทัลมากขึ้น ประกอบกับการแข่งขันทางธุรกิจที่เข้มข้น Marketing Automation จึงสร้างประโยชน์ทั้งต่อการทำธุรกิจและผู้ใช้งาน ดังนี้

ประหยัดเวลาและทรัพยากร

Marketing Automation ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยลดภาระงานที่ซ้ำซาก และไม่จำเป็น ทำให้ทีมงานมีเวลามากขึ้นสำหรับการวางแผนกลยุทธ์ และสร้างกิจกรรมทางการตลาดที่สร้างสรรค์

ตัวอย่างเช่น การใช้ Chatbot ในการโต้ตอบกับลูกค้าเบื้องต้น ช่วยลดภาระงานของทีมบริการลูกค้า และทำให้ลูกค้าได้รับการตอบสนองทันที ไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่ว่าง ส่งผลให้ธุรกิจสามารถลดต้นทุนด้านบุคลากร และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ส่งมอบประสบการณ์ที่เป็นส่วนตัว

Marketing Automation ช่วยในการสร้างเนื้อหา (Content) ที่ปรับเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมและความสนใจของผู้ใช้แต่ละราย ทำให้สามารถส่งข้อความที่เหมาะสมไปยังลูกค้าแต่ละคน ในเวลาที่เหมาะสม

ตัวอย่างเช่น อีเมลมาร์เก็ตติงที่ส่งโปรโมชันสินค้าที่ลูกค้าเคยดู หรือการปรับหน้าเนื้อหาเว็บไซต์ให้ตรงกับความสนใจของผู้ใช้คนนั้นๆ ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ส่งผลให้มีความภักดีต่อแบรนด์มากขึ้น

เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการแคมเปญ

Marketing Automation ช่วยให้สามารถบริหารจัดการแคมเปญการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการวิเคราะห์ที่ดีขึ้น ธุรกิจสามารถเข้าถึงข้อมูลและวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า ช่วยให้เข้าใจและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น

นอกจากนี้ ยังสามารถทำ A/B Testing เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของแคมเปญต่างๆ และปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การทดสอบหัวข้ออีเมลแบบต่างๆ เพื่อดูว่าแบบไหนได้รับการเปิดอ่านมากที่สุด

เพิ่มโอกาสสร้างยอดขาย

Marketing Automation ช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย ด้วยการตอบสนองที่รวดเร็ว แม่นยำ ตรงตามความต้องการของลูกค้า จึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการเปลี่ยนแปลงจากผู้ใช้ (User) ให้กลายเป็นลูกค้า (Customer) ได้มากขึ้น

เช่น การส่งอีเมลติดตามอัตโนมัติเมื่อลูกค้าทิ้งสินค้าไว้ในตะกร้า อาจมอบส่วนลดพิเศษเพื่อกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อ หรือการแนะนำสินค้าเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ลูกค้าเคยซื้อ ช่วยเพิ่มมูลค่าการขายต่อครั้งได้

รองรับการเติบโตของธุรกิจ

Marketing Automation เป็นระบบที่สามารถขยายขนาดได้ตามการเติบโตของธุรกิจ ไม่ว่าจะมีลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากเท่าใด ระบบก็สามารถรองรับได้โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มบุคลากรตามสัดส่วน

นอกจากนี้ Marketing Automation ยังช่วยในการเรียนรู้และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาของ Machine Learning การเก็บข้อมูลลูกค้าที่มีระบบ ทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความเข้าใจ ปรับปรุงกิจกรรมทางการตลาด และเรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้า แล้วนำมาเสริมสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Marketing Automation ในธุรกิจ

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Marketing Automation ในธุรกิจ

หลายธุรกิจได้นำ Marketing Automation มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการตลาดและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน มาดูตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานจริงกัน

  • Starbucks ใช้ข้อมูลจากแอปพลิเคชันเพื่อติดตามพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า จากนั้นนำมาวิเคราะห์และส่งโปรโมชันเฉพาะบุคคล เช่น ส่วนลดสำหรับเครื่องดื่มที่ลูกค้าชอบสั่งประจำ หรือแนะนำเมนูใหม่ที่น่าจะถูกใจตามรสนิยมเครื่องดื่มที่เคยสั่ง นอกจากนี้ ยังมีการส่งข้อความแจ้งเตือนเมื่อลูกค้าอยู่ใกล้สาขา พร้อมโปรโมชันเฉพาะวันนั้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อ
  • Amazon ใช้ระบบแนะนำสินค้าอัตโนมัติที่ซับซ้อน โดยวิเคราะห์จากประวัติการเรียกดู การค้นหา และประวัติการซื้อสินค้า เพื่อแสดงรายการ “สินค้าที่คุณอาจสนใจ” และ “ลูกค้าที่ซื้อสินค้านี้มักจะซื้อ…” นอกจากนี้ ยังมีระบบส่งอีเมลติดตามสินค้าในตะกร้าที่ยังไม่ได้ชำระเงิน พร้อมข้อเสนอพิเศษ และส่งอีเมลแจ้งเตือนเมื่อสินค้าที่เคยดูมีการลดราคา หรือเมื่อสินค้าที่เคยหมดสต๊อกกลับมาพร้อมจำหน่ายอีกครั้ง
  • Sephora ใช้ระบบสมาชิก Beauty Insider ที่เก็บข้อมูลลูกค้าอย่างละเอียด ทั้งโทนสีผิว ปัญหาผิว และประวัติการซื้อผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งข้อเสนอพิเศษในวันเกิด และแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับผู้ใช้แต่ละคน รวมถึงส่งเทคนิคการแต่งหน้าและการดูแลผิวที่เหมาะกับลูกค้าแต่ละราย นอกจากนี้ ยังมีการส่งอีเมลแจ้งเตือนเมื่อผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าเคยซื้อกำลังจะหมด พร้อมลิงก์สั่งซื้อซ้ำได้ทันที ช่วยอำนวยความสะดวกและกระตุ้นยอดขายไปพร้อมกัน

ความต่างของ Marketing Automation กับ Digital Marketing

Digital Marketing คือการทำการตลาดผ่านช่องทางดิจิทัลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ การค้นหาบนเครื่องมือค้นหา การตลาดเนื้อหา และการโฆษณาออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ เป็นแนวคิดการตลาดที่กว้างและครอบคลุมเครื่องมือดิจิทัลทั้งหมด มุ่งเน้นการสร้างการรับรู้และปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย และอาจรวมถึงการทำงานด้วยมือในบางส่วน เช่น การสร้างเนื้อหา การออกแบบโฆษณา และการวางแผนแคมเปญ

ในขณะที่ Marketing Automation เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Digital Marketing ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้ขั้นตอนการทำการตลาดเป็นอัตโนมัติ เพื่อลดงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการตลาดแบบอัตโนมัติเพื่อจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า และนำลูกค้าไปสู่การตัดสินใจซื้อ

ควรเลือกแนวทางทำการตลาดแบบไหนดีกว่ากัน

ในความเป็นจริง Digital Marketing และ Marketing Automation ควรทำงานควบคู่กันไป โดย Digital Marketing จะช่วยสร้างการรับรู้ ดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย และสร้างปฏิสัมพันธ์กับพวกเขา ในขณะที่ Marketing Automation จะช่วยจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า นำลูกค้าไปสู่การตัดสินใจซื้อ และรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว ซึ่งธุรกิจขนาดเล็กที่มีทรัพยากรจำกัด อาจเริ่มต้นด้วยการทำ Digital Marketing ก่อน เพื่อสร้างการรับรู้และดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย แล้วค่อย ๆ เพิ่ม Marketing Automation เข้ามาเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้นและมีฐานลูกค้ามากขึ้นเพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงาน

จะเห็นได้ว่า Marketing Automation คือเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถสื่อสาร และบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจสูงอย่างปัจจุบัน ซึ่งทาง deeSMSX ก็มีบริการ SMS Marekting ที่พร้อมส่งข้อความอัตโนมัติให้กลุ่มเป้าหมาย โดยมีแพ็กเกจเริ่มต้นที่เหมาะสมกับทุกขนาดธุรกิจ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02-095-5168 Line @deecom หรือ เฟซบุ๊ก deeSMSX

บริการส่ง SMS ลดต้นทุนธุรกิจได้จริงไหม กับข้อดีที่ต้องรู้

บริการส่ง SMS ลดต้นทุนธุรกิจได้จริงไหม กับข้อดีที่ต้องรู้

การสื่อสารกับลูกค้าเป็นกลยุทธ์สำคัญในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะในยุคที่การแข่งขันสูง บริการส่ง SMS ถือเป็นเครื่องมือการตลาดที่มีประสิทธิภาพ เพราะช่วยเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง แต่วิธีนี้จะช่วยประหยัดต้นทุนธุรกิจได้อย่างไร และมีข้อดีอะไรบ้าง deeSMSX จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจกัน 

บริการส่ง SMS คืออะไร

บริการส่ง SMS คือ การสื่อสารผ่านข้อความสั้นทางโทรศัพท์มือถือไปยังกลุ่มเป้าหมาย ทั้งแบบรายบุคคลหรือส่งพร้อมกันหลายเบอร์ สามารถส่งข้อมูลโปรโมชัน แจ้งข่าวสาร หรือสิทธิพิเศษต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดย บริการส่ง SMS ช่วยให้ธุรกิจสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกลุ่มเป้าหมาย

บริการส่ง SMS ช่วยเพิ่มยอดขายได้อย่างไร

บริการส่ง SMS ช่วยเพิ่มยอดขายด้วยการส่งข้อเสนอที่ตรงใจลูกค้าแบบเฉพาะเจาะจง อัตราการเปิดอ่านสูงถึง 98% ทำให้ข้อความถึงมือลูกค้าจริง เมื่อส่งโปรโมชันที่น่าสนใจผ่าน บริการส่ง SMS จะกระตุ้นการตัดสินใจซื้อได้ทันที และสร้างการกลับมาซื้อซ้ำของลูกค้าเดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อดีของการใช้บริการส่ง SMS ในธุรกิจ

ข้อดีของการใช้บริการส่ง SMS ในธุรกิจ

หลายคนอาจมองไม่เห็นความสำคัญของ SMS เพราะคิดแค่ว่าเป็นการส่งข้อความทั่วไป แต่ในความเป็นจริงแล้ว ข้อดีที่ทำให้ธุรกิจต้องเลือกใช้บริการส่ง SMS นั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแง่ของต้นทุน และความสำเร็จได้การส่งถึงกลุ่มเป้าหมาย แต่เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เราลองมาดูตัวอย่างข้อดีกัน 

บริการส่ง SMS ช่วยลดต้นทุนธุรกิจ

บริการส่ง SMS ช่วยลดต้นทุนด้านการตลาดได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับการโฆษณาผ่านสื่อดั้งเดิมหรือการจ้างพนักงานขาย ซึ่งค่าใช้จ่ายต่อข้อความเริ่มต้นเพียง 0.15 บาท ธุรกิจสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากได้ในต้นทุนที่ต่ำกว่า โดยบริการส่ง SMS ที่มีประสิทธิภาพจะคิดเงินเฉพาะข้อความที่ส่งถึงผู้รับเท่านั้น

บริการส่ง SMS ช่วยกระตุ้นการซื้อ

บริการส่ง SMS สร้างความเร่งด่วนในการตัดสินใจซื้อได้ดี ด้วยการส่งข้อเสนอแบบจำกัดเวลา เช่น Flash Sale หรือโปรโมชันพิเศษเฉพาะวัน ทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นคนพิเศษที่ได้รับข้อเสนอโดยตรง เมื่อเนื้อหาในบริการส่ง SMS กระชับ ตรงประเด็น พร้อม Call-to-Action ชัดเจน จะช่วยกระตุ้นยอดขายได้อย่างรวดเร็ว

ตัวอย่างการใช้บริการส่ง SMS ในธุรกิจ

ตัวอย่างการใช้บริการส่ง SMS ในธุรกิจ

ธุรกิจหลากหลายประเภทได้นำบริการส่ง SMS มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์การตลาด โดยปรับรูปแบบการสื่อสารให้เหมาะกับความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งโปรโมชัน ส่งรหัสยืนยัน หรือแจ้งข่าวสารสำคัญ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ ดังนี้

การใช้บริการส่ง SMS ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซใช้บริการส่ง SMS เพื่อเพิ่มยอดขายและสร้างความประทับใจให้ลูกค้า โดยการแจ้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ผ่านข้อความสั้นที่เข้าใจง่าย

  • แจ้งสถานะการจัดส่งสินค้าแบบ Real-time
  • ส่งโคดส่วนลดพิเศษเฉพาะลูกค้าที่เคยซื้อสินค้า
  • แจ้งเตือนสินค้าที่กำลังจะหมดสต๊อกหรือกลับมาวางจำหน่ายใหม่
  • ส่งข้อความเชิญให้ร่วมงานเปิดตัวสินค้าหรือแคมเปญพิเศษ

การใช้บริการส่ง SMS ในธุรกิจธนาคารและการเงิน

สถาบันการเงินใช้บริการส่ง SMS เพื่อสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยให้ลูกค้า พร้อมทั้งเพิ่มโอกาสในการขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ

  • แจ้งเตือนการทำธุรกรรมทางการเงินทันที
  • ส่ง OTP เพื่อยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมออนไลน์
  • แจ้งโปรโมชันพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์การเงินใหม่ ๆ
  • แจ้งเตือนวันครบกำหนดชำระค่าบริการต่างๆ

การใช้บริการส่ง SMS ในธุรกิจบริการลูกค้า

ธุรกิจบริการใช้บริการส่ง SMS เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีและความประทับใจให้กับลูกค้า ทำให้เกิดการบอกต่อและกลับมาใช้บริการซ้ำ

  • ส่งข้อความยืนยันการจองหรือนัดหมาย
  • แจ้งเตือนก่อนถึงเวลานัดหมาย 1-2 วัน
  • ส่งข้อความขอบคุณหลังจากลูกค้าใช้บริการ
  • ชวนลูกค้าให้คะแนนหรือรีวิวหลังใช้บริการ

จะเห็นได้ว่า บริการส่ง SMS เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพสูง ทั้งในแง่การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย การช่วยลดต้นทุน และการกระตุ้นยอดขาย ธุรกิจที่สามารถปรับตัวและเจาะกลุ่มลูกค้าได้ตรงใจจะเป็นผู้อยู่รอดในยุคที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งการทำ SMS Marketing เป็นหนึ่งในวิธีที่ง่ายและเห็นผลลัพธ์ชัดเจน สามารถนำเสนอโปรโมชันและข่าวสารได้ทุกเวลาในต้นทุนที่ไม่แพง ทาง deeSMSX มีแพ็กเกจ SMS คุณภาพสูง รองรับการส่งได้เป็นจำนวนมาก โดยมีค่าบริการเริ่มต้นที่ 0.15 บาท / ข้อความ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02-095-5168 Line @deecom หรือ เฟซบุ๊ก deeSMSX

SMS Alert คืออะไร ตอบโจทย์การทำธุรกิจได้อย่างไร

SMS Alert คืออะไร ตอบโจทย์การทำธุรกิจได้อย่างไร

การสื่อสารกับลูกค้าอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล บริการ SMS Alert คือคำตอบที่หลายธุรกิจเลือกใช้เพื่อสร้างความประทับใจ แต่การใช้งาน SMS Alert ที่ว่านี้มีประโยชน์อย่างไรบ้าง วันนี้ deeSMSX จะมาอธิบายพร้อมยกตัวอย่างให้เห็นภาพกันมากขึ้น 

SMS Alert คืออะไร

SMS Alert คือ ระบบการแจ้งเตือนข้อมูลต่างๆ ผ่านช่องทาง SMS ที่ส่งไปยังหมายเลขโทรศัพท์ปลายทาง โดยองค์กรจะมีระบบเชื่อมต่อกับซอฟต์แวร์ที่ส่งข้อความอัตโนมัติเมื่อมีความเคลื่อนไหวหรือข้อมูลสำคัญที่ต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบ ทำให้ SMS Alert คือทางเลือกที่ตอบโจทย์การสื่อสารรวดเร็วและถึงผู้รับได้ 100%

SMS Alert แตกต่างจาก SMS ทั่วไปอย่างไร

SMS Alert แตกต่างจาก SMS ทั่วไปอย่างไร

SMS Alert และ SMS ทั่วไปอาจดูคล้ายกันแต่มีความแตกต่างสำคัญอยู่หลายจุด เช่น 

  • การทำงานอัตโนมัติ : SMS Alert คือระบบที่ส่งข้อความโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่กำหนดไว้ ขณะที่ SMS ทั่วไปมักเป็นการส่งด้วยตนเอง
  • จุดประสงค์การใช้งาน : SMS Alert มุ่งเน้นการแจ้งเตือนข้อมูลสำคัญ ส่วน SMS ทั่วไปอาจใช้เพื่อการสนทนาหรือส่งโปรโมชัน
  • ระบบการเชื่อมต่อ : SMS Alert คือบริการที่ต้องเชื่อมต่อกับระบบหลังบ้านขององค์กร ขณะที่ SMS ทั่วไปไม่จำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อระบบซับซ้อน
  • ความเร็วและความน่าเชื่อถือ : SMS Alert มักใช้ระบบที่มีความน่าเชื่อถือสูงและส่งได้รวดเร็วกว่า เพราะเป็นการสื่อสารข้อมูลสำคัญ
  • การจัดการฐานข้อมูล : SMS Alert คือระบบที่ต้องมีการจัดการฐานข้อมูลลูกค้าที่ดี เพื่อส่งข้อความให้ถูกต้องและเหมาะสม

รู้จัก 4 ประโยชน์ในการใช้งาน SMS Alert  ในธุรกิจ

รู้จัก 4 ประโยชน์ในการใช้งาน SMS Alert ในธุรกิจ

SMS Alert คือบริการที่มอบประโยชน์มากมายให้กับธุรกิจที่ต้องการการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้

  1. ความรวดเร็วในการส่งข้อมูล : SMS Alert คือช่องทางที่เร็วที่สุดในการส่งข้อความแจ้งเตือน ข้อความจะถึงผู้รับภายในไม่กี่วินาที
  2. อัตราการเปิดอ่านสูง : ข้อความ SMS มีอัตราการเปิดอ่านสูงถึง 98% ทำให้ SMS Alert คือตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสาร
  3. ไม่จำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ต : ผู้รับสามารถได้รับ SMS Alert แม้ไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ทำให้การสื่อสารไม่ขาดตอน
  4. ประหยัดทรัพยากรบุคคล : ระบบอัตโนมัติของ SMS Alert ช่วยลดภาระงานของพนักงาน ทำให้ไม่ต้องโทรหรือติดต่อลูกค้าทีละราย

ตัวอย่างธุรกิจที่ได้ประโยชน์จาก SMS Alert

SMS Alert คือบริการที่เหมาะกับหลากหลายธุรกิจ โดยแต่ละประเภทสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้

ธุรกิจประกันภัย

บริการ SMS Alert ช่วยให้บริษัทประกันสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงเวลามากขึ้น โดยมีตัวอย่างการใช้งาน ดังนี้

  • แจ้งเตือนการครบกำหนดชำระเบี้ยประกัน
  • ส่งข้อมูลเลขกรมธรรม์และความคุ้มครอง
  • แจ้งยอดค้างชำระเพื่อป้องกันการขาดความคุ้มครอง
  • ส่งโปรโมชันและสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้า

ธุรกิจธนาคาร

สถาบันการเงินใช้ SMS Alert เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและความสะดวกในการทำธุรกรรม โดยมีตัวอย่างการใช้งาน ดังนี้

  • แจ้งเตือนการเคลื่อนไหวของบัญชี เช่น เงินเข้า-ออก
  • ยืนยันการทำธุรกรรมฝาก ถอน โอนเงิน
  • แจ้งเตือนการชำระค่าธรรมเนียมและบริการต่างๆ
  • ส่ง OTP เพื่อยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมออนไลน์

ธุรกิจโรงพยาบาล

โรงพยาบาลใช้ SMS Alert ในการบริหารจัดการนัดหมายและดูแลผู้ป่วย โดยมีตัวอย่างการใช้งาน ดังนี้

  • แจ้งเตือนการนัดหมายล่วงหน้า
  • ส่งผลการตรวจวินิจฉัยที่ไม่ซับซ้อน
  • แจ้งเตือนการรับยาและวิธีการใช้ยา
  • ติดตามอาการหลังการรักษาและนัดหมายติดตามผล

ธุรกิจอีคอมเมิร์ช

ผู้ประกอบการออนไลน์ใช้ SMS Alert เพื่อสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ราบรื่น โดยมีตัวอย่างการใช้งาน ดังนี้

  • ยืนยันการสั่งซื้อและชำระเงิน
  • แจ้งสถานะการจัดส่งและหมายเลขพัสดุ
  • แจ้งโปรโมชันและสินค้าใหม่
  • รับข้อเสนอแนะหลังการซื้อสินค้า

ธุรกิจขนส่งสินค้า

บริษัทขนส่งใช้ SMS Alert เพื่อให้บริการที่โปร่งใสและติดตามได้ง่ายมากขึ้น ตัวอย่างการใช้งาน มีดังนี้

  • แจ้งเลขพัสดุและข้อมูลการจัดส่ง
  • อัปเดตสถานะพัสดุในแต่ละขั้นตอน
  • แจ้งเวลาจัดส่งโดยประมาณ
  • แจ้งเตือนเมื่อพัสดุถึงปลายทางหรือมีการเปลี่ยนแปลง

จะเห็นได้ว่า SMS Alert คือช่องทางการสื่อสารที่ทรงพลังและมีประสิทธิภาพสำหรับธุรกิจยุคดิจิทัล เพราะถึงแม้จะมีเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่ SMS Alert ยังคงเป็นวิธีที่เข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็วที่สุด ไม่ว่าลูกค้าจะมีสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่หรือโทรศัพท์รุ่นเก่า ไม่ว่าจะมีอินเทอร์เน็ตหรือไม่ก็ตาม SMS Alert คือคำตอบที่ทำให้ธุรกิจสื่อสารได้ทุกที่ ทุกเวลาหากธุรกิจคุณต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร และสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า บริการ SMS Alert จาก deeSMSX คือคำตอบสำหรับธุรกิจคุณ ด้วยการส่ง SMS คุณภาพสูง รองรับการส่งได้เป็นจำนวนมาก โดยมีค่าบริการเริ่มต้นที่ 0.15 บาท / ข้อความ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02-095-5168 Line @deecom หรือ เฟซบุ๊ก deeSMSX

SMS API คืออะไร ทำไมถึงช่วยธุรกิจได้มากกว่าที่คิด

SMS API คืออะไร ทำไมถึงช่วยธุรกิจได้มากกว่าที่คิด

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การสื่อสารอย่างถูกวิธีคือหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยรักษาฐานลูกค้า SMS API คือหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยแก้ไขปัญหาในด้านนี้ได้ แต่ข้อดีในการใช้งานเครื่องมือนี้จะเป็นอย่างไร และทำไมธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับการส่ง SMS ขนาดนั้น วันนี้ deeSMSX จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจเรื่องนี้กัน 

SMS API คืออะไร

SMS API หรือ Short Message Service Application Programming Interface คือ ชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างแอปพลิเคชันกับระบบส่งข้อความ SMS ช่วยให้ธุรกิจสามารถส่งข้อความจำนวนมากพร้อมกันได้อย่างอัตโนมัติ ลดเวลาและขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อน ทำให้การทำ SMS Marketing มีประสิทธิภาพมากขึ้น

รู้จักกับหลักการทำงานของ SMS API

รู้จักกับหลักการทำงานของ SMS API

SMS API ทำงานโดยเชื่อมต่อระบบภายในของธุรกิจเข้ากับผู้ให้บริการส่งข้อความ ช่วยให้สามารถส่งข้อความได้อย่างอัตโนมัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้า มาดูขั้นตอนการทำงานโดยละเอียดกัน

ขั้นตอนการส่งข้อความผ่าน SMS API

เมื่อมีการเรียกใช้งาน API จากระบบของธุรกิจ ข้อมูลจะถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ SMS API ซึ่งจะประมวลผลข้อมูลและส่งข้อความไปยังเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้รับ ระบบจะมีการตรวจสอบสถานะการส่งและรายงานผลกลับมายังธุรกิจ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในเวลาเพียงไม่กี่วินาที

วิธีการเชื่อมต่อระบบกับ API

การเชื่อมต่อระบบกับ SMS API ไม่ซับซ้อนอย่างที่คิด เพียงนำ API Key ที่ได้รับจากผู้ให้บริการมาใส่ในระบบของธุรกิจ แล้วกำหนดพารามิเตอร์ต่าง ๆ เช่น เบอร์ผู้รับ ข้อความที่ต้องการส่ง และเวลาที่ต้องการให้ส่ง ระบบก็จะดำเนินการส่งข้อความตามที่กำหนดโดยอัตโนมัติ

การจัดการกับข้อความที่มีการตอบกลับ

SMS API รุ่นใหม่รองรับการรับข้อความตอบกลับจากลูกค้า ช่วยให้ธุรกิจสามารถติดตามการตอบสนองและวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าได้ ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

รู้จักข้อดีของการใช้ SMS API ในธุรกิจ

การนำ SMS API มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจมีข้อดีมากมาย ทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร ลดต้นทุน และเพิ่มโอกาสทางการตลาด ช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล เพื่อให้เห็นภาพชัดมากขึ้น เรามาดูตัวอย่างข้อดีกัน

การเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารกับลูกค้า

SMS API คือเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารกับลูกค้าอย่างมีนัยสำคัญ ข้อความจะถูกส่งถึงผู้รับโดยตรง มีอัตราการเปิดอ่านสูงถึง 98% ภายใน 3 นาทีแรกที่ได้รับ ทำให้ลูกค้าได้รับข้อมูลสำคัญได้ทันท่วงที เช่น รหัส OTP ยืนยันการสั่งซื้อ หรือการแจ้งเตือนต่าง ๆ

การลดต้นทุนและเวลาในการดำเนินการ

การใช้ SMS API คือวิธีที่ช่วยลดต้นทุนและเวลาในการดำเนินงานได้อย่างมาก ธุรกิจไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานมาส่งข้อความทีละเบอร์ หรือลงทุนในระบบโทรศัพท์ราคาแพง ระบบอัตโนมัติช่วยให้สามารถส่งข้อความไปยังลูกค้าจำนวนมากได้พร้อมกัน ด้วยต้นทุนเพียงไม่กี่สตางค์ต่อข้อความ

การปรับแต่งข้อความและการทำการตลาดที่เจาะจง

SMS API คือตัวช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับแต่งข้อความ และทำการตลาดแบบเจาะจงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบสามารถแทรกข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า เช่น ชื่อ วันเกิด หรือประวัติการซื้อสินค้า เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวและเพิ่มโอกาสในการตอบสนองจากลูกค้า

ตัวอย่างการนำ SMS API มาใช้ในธุรกิจ

ตัวอย่างการนำ SMS API มาใช้ในธุรกิจ

หลายธุรกิจได้นำ SMS API มาประยุกต์ใช้และประสบความสำเร็จอย่างมาก การศึกษาตัวอย่างเหล่านี้จะช่วยให้เห็นภาพ และเข้าใจวิธีการนำไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

การใช้ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซสามารถใช้ประโยชน์จาก SMS API ได้หลากหลายรูปแบบ เพื่อเพิ่มยอดขายและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า โดยมีตัวอย่างการใช้งาน ดังนี้ 

  • ส่งรหัส OTP เพื่อยืนยันการสั่งซื้อสินค้าและการชำระเงิน เพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรม
  • แจ้งสถานะการจัดส่งสินค้าและหมายเลขพัสดุให้ลูกค้าติดตามได้สะดวก
  • ส่งโปรโมชันและส่วนลดพิเศษเฉพาะลูกค้า เพื่อกระตุ้นยอดขายในช่วงเวลาที่ต้องการ
  • แจ้งเตือนเมื่อสินค้าที่ลูกค้าสนใจกลับมามีในสต๊อก หรือมีการลดราคา

การใช้ในธุรกิจธนาคาร

ธนาคารและสถาบันการเงินใช้ SMS API เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า โดยมีตัวอย่างการใช้งาน ดังนี้ 

  • ส่งรหัส OTP สำหรับยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมออนไลน์ ช่วยป้องกันการฉ้อโกง
  • แจ้งเตือนการเคลื่อนไหวของบัญชี เช่น การฝาก ถอน โอนเงิน หรือชำระค่าสินค้าและบริการ
  • แจ้งเตือนเมื่อถึงกำหนดชำระค่างวดสินเชื่อหรือบัตรเครดิต ช่วยลดอัตราการผิดนัดชำระ
  • ส่งข้อมูลโปรโมชันและสิทธิพิเศษต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นการใช้บริการทางการเงิน

การใช้ในธุรกิจบริการลูกค้า

ธุรกิจบริการสามารถใช้ SMS API เพื่อยกระดับการให้บริการ และสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า โดยมีตัวอย่างการใช้งาน ดังนี้ 

  • ส่งข้อความยืนยันการนัดหมาย เช่น การจองห้องพัก การนัดพบแพทย์ หรือการจองร้านอาหาร
  • แจ้งเตือนก่อนถึงกำหนดนัดหมาย เพื่อลดอัตราการไม่มาตามนัด
  • ส่งแบบสอบถามความพึงพอใจหลังการใช้บริการ เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงคุณภาพ
  • แจ้งข่าวสารและการอัปเดตบริการใหม่ๆ ให้ลูกค้าทราบอย่างทันท่วงที

จะเห็นได้ว่า SMS API คือเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ การส่งข้อความที่ตรงประเด็น ทันเวลา และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำจะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้มากกว่าที่คิด ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจสูง ธุรกิจที่สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นผู้ได้เปรียบ บริการส่งข้อความ SMS API จึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ธุรกิจไม่ควรมองข้าม ซึ่งทาง deeSMSX ก็มีบริการส่ง SMS คุณภาพสูง รองรับการส่งได้เป็นจำนวนมาก โดยมีค่าบริการเริ่มต้นที่ 0.15 บาท / ข้อความ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02-095-5168 Line @deecom หรือ เฟซบุ๊ก deeSMSX

รวม 4 วิธีสังเกตลิงค์ปลอม ก่อนตกเป็นเหยื่อกดลิงค์มิจฉาชีพ

รวม 4 วิธีสังเกตลิงค์ปลอม ก่อนตกเป็นเหยื่อกดลิงค์มิจฉาชีพ

การกดลิงค์มิจฉาชีพที่ส่งมาทาง SMS หรือช่องทางออนไลน์อื่น ๆ คือหนึ่งในภัยร้ายแรงที่สังคมยุคนี้ต้องเผชิญ และกลุ่มที่ตกเป็นเหยื่อก็ไม่ใช่เพียงผู้สูงอายุเพียงอย่างเดียว แต่กลับเป็นคนหนุ่มสาวที่โดนหลอกด้วยเช่นกัน เพราะมิจฉาชีพก็มีวิธีหลอกล่อที่แนบเนียนมากขึ้น ใครที่กังวลว่าตัวเองจะประสบปัญหานี้ หรือกลัวว่าคนใกล้ตัวจะตกเป็นเหยื่อ วันนี้ deeSMSX มีวิธีสังเกตลิงค์ปลอมจากมิจฉาชีพมาฝากทุกคนกัน 

ภัยอันตรายจากการกดลิงค์มิจฉาชีพที่ต้องรู้

การกดลิงค์มิจฉาชีพนั้นอันตรายกว่าที่หลายคนคิด ไม่ใช่แค่เสียเงิน แต่ยังอาจเสียข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญได้ด้วย เราลองมาดูภัยร้ายที่อาจเกิดขึ้นจากการกดลิงค์มิจฉาชีพกัน

  • ข้อมูลส่วนตัวถูกขโมย : การกดลิงค์มิจฉาชีพอาจนำไปสู่การหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขบัตรประชาชน เลขบัญชี รหัส OTP รวมถึงข้อมูลบัตรเครดิต
  • เงินในบัญชีหายไป : มิจฉาชีพสามารถใช้ข้อมูลที่ได้ไปถอนเงิน หรือโอนเงินออกจากบัญชีได้โดยที่เจ้าของไม่รู้ตัวได้
  • การติดตั้งมัลแวร์ : การกดลิงค์มิจฉาชีพอาจนำไปสู่การติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมระยะไกล ที่ให้มิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลในมือถือได้ทั้งหมด ซึ่งอาจเป็นข้อมูลสำคัญที่สามารถนไปข่มขู่กรรโชกทรัพย์ได้
  • ความเสียหายต่อเนื่อง : เมื่อมิจฉาชีพได้ข้อมูลแล้ว อาจนำไปใช้ต่อในการทำธุรกรรมอื่น ๆ หรือแอบอ้างตัวตนของเหยื่อให้กลายเป็นผู้เสียหายในการกระทำผิดทางกฎหมายแทน

4 วิธีแยกลิงค์ปลอม ก่อนตกเป็นเหยื่อกดลิงค์มิจฉาชีพ

4 วิธีแยกลิงค์ปลอม ก่อนตกเป็นเหยื่อกดลิงค์มิจฉาชีพ

ในปัจจุบันมิจฉาชีพมีวิธีการหลอกลวงที่แนบเนียนมากขึ้น แต่ยังมีร่องรอยให้สังเกตได้หากเรามีความระมัดระวัง ลองมาดูวิธีสังเกตลิงค์ปลอมก่อนตกเป็นเหยื่อกดลิงค์มิจฉาชีพด้วย 4 วิธีต่อไปนี้

1. ตรวจสอบ URL ให้ละเอียด

ลิงค์ที่มิจฉาชีพส่งมามักดูคล้ายกับเว็บไซต์จริง แต่มีความผิดปกติเล็กน้อย การตรวจสอบ URL อย่างละเอียดจึงเป็นด่านแรกในการป้องกันการกดลิงค์มิจฉาชีพ โดยควรสังเกตชื่อเว็บไซต์ที่มักดัดแปลงให้คล้ายกับเว็บของบริษัทหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ แต่มีการสะกดผิด เช่น “deeSMSSX” แทน “deeSMSX” หรือใช้โดเมนที่ผิดปกติ

2. เช็กความปลอดภัยจากโปรโตรคอล HTTPS

เว็บไซต์ที่มีความปลอดภัยจะมีโปรโตคอล HTTPS และสัญลักษณ์กุญแจล็อค ซึ่งแสดงถึงการเข้ารหัสข้อมูล การกดลิงค์มิจฉาชีพมักนำไปสู่เว็บที่ไม่มีการรักษาความปลอดภัย (HTTP) หรือขึ้นคำเตือนว่าไม่ปลอดภัย ควรสังเกตว่าเว็บไซต์ทางการเงิน และองค์กรใหญ่จะมีใบรับรอง SSL เสมอ

3. สังเกตแหล่งที่มาจาก Sender Name

ต้นทางของลิงค์ก็สำคัญไม่แพ้กัน หากได้รับลิงค์จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือหรือไม่คุ้นเคย ควรระวังเป็นพิเศษ มิจฉาชีพมักส่งลิงค์จากเบอร์โทรศัพท์แปลกปลอม หรืออีเมลที่ดูคล้ายของจริง ก่อนกดลิงค์มิจฉาชีพใด ๆ ควรตรวจสอบว่าใครเป็นผู้ส่ง และมีความน่าเชื่อถือหรือไม่

4. สังเกตเนื้อหาที่เขียนแนบมากับลิงค์

ข้อความที่แนบมากับลิงค์มักเป็นกลยุทธ์เร่งให้ตัดสินใจ เช่น “ด่วน!” “เร่งด่วน!” หรือบอกว่าได้รับของรางวัลมูลค่าสูง การกดลิงค์มิจฉาชีพมักมาพร้อมข้อความที่มีการสะกดผิด ใช้ภาษาแปลกๆ หรือเสนอข้อเสนอที่ดีเกินจริง จนน่าสงสัย

ควรป้องกันตัวอย่างไรให้ไม่ตกเป็นเหยื่อกดลิงค์มิจฉาชีพ

นอกจากการรู้วิธีสังเกตลิงค์ปลอมแล้ว ยังมีวิธีป้องกันตัวเองจากการตกเป็นเหยื่อกดลิงค์มิจฉาชีพได้อีกหลายวิธี มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

  • ไม่กดลิงค์โดยตรง : หากมีข้อสงสัย ควรเปิดเบราว์เซอร์แล้วพิมพ์ URL ของเว็บไซต์นั้นโดยตรง แทนการกดลิงค์มิจฉาชีพที่อาจแอบแฝงมา
  • ติดตั้ง Anti-Virus : การมีโปรแกรมป้องกันไวรัส และมัลแวร์บนอุปกรณ์จะช่วยเตือนเมื่อเจอเว็บไซต์หรือลิงค์ที่เป็นอันตราย
  • ตั้งค่าความปลอดภัย 2 ชั้น : เปิดการยืนยันตัวตน 2 ชั้นสำหรับบัญชีสำคัญ โดยเฉพาะบัญชีธนาคารและอีเมล
  • อัปเดตซอฟต์แวร์เสมอ : การอัปเดตระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชันต่าง ๆ จะช่วยปิดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยในโทรศัพท์ที่ใช้งานอยู่ได้ 

จะเห็นได้ว่าการป้องกันตัวจากการกดลิงค์มิจฉาชีพเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะมิจฉาชีพมีวิธีการที่แนบเนียนขึ้นทุกวัน จึงตรวจสอบให้ดีก่อนกดลิงค์ใด ๆ โดยเฉพาะการสังเกต URL ที่ผิดปกติ การตรวจสอบโปรโตคอล HTTPS ที่มาของผู้ส่ง และเนื้อหาข้อความที่ดูน่าสงสัย เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากการตกเป็นเหยื่อกดลิงค์มิจฉาชีพได้มากทั้งนี้ หากธุรกิจของคุณต้องการส่งข้อความไปยังลูกค้าอย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย deeSMSX คือผู้ให้บริการ SMS Marketing ที่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย มีความน่าเชื่อถือสูง ช่วยให้การส่งข้อความในธุรกิจมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และปลอดภัยสำหรับทั้งผู้ส่งและผู้รับ เรามีบริการส่ง SMS คุณภาพสูง รองรับการส่งได้เป็นจำนวนมาก โดยมีค่าบริการเริ่มต้นที่ 0.15 บาท / ข้อความ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02-095-5168 Line @deecom หรือ เฟซบุ๊ก deeSMSX